Thursday 29 January 2009

ชีวิตการทำงานของคนญี่ปุ่น (ตอนที่2 จบ)

การเปลี่ยนแปลงระบบใหม่นั้น แม้แต่คนญี่ปุ่นเองยอมรับว่า มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นหลายจุดทีเดียว ซึ่งเขาอยากกลับไปแก้ไขแต่ก็ทำไม่ได้แล้ว ผมได้สรุปเป็นข้อๆ ให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นครับ
1. แต่ละบริษัทพบว่าการประเมินผลตามความสามารถนั้น ไม่เป็นไปอย่างที่คิด เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น ทำให้ยากต่อการประเมินผลเพื่อขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัส
2. จากข้อ 1 ญี่ปุ่นเองมีประเภทของพนักงานหลายประเภท โดยสัดส่วนของพนักงานประจำลดลงและมีพนักงานประเภทนี้มากว่า 30% ประกอบกับทางพนง.ชั่วคราวและผู้รับเหมาได้พยายามจับมือกันจัดตั้งสหภาพบ้าง ทำให้เกิดปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน
3. การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 1990 ไม่ได้มีการแจ้งจุดประสงค์ของการปรับโครงสร้างให้เข้าใจโดยทั่วกัน เขามองว่า หากมีการแจ้งให้ชัดเจนน่าจะได้รับความร่วมมือกันและสามารถหาทางออกได้ดีกว่าในปัจจุบัน ทำให้ช่วงหลังกิจกรรม Kaizen ไม่เกิดการทำและไม่เกิดการพัฒนา เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการลดคน
4. ญี่ปุ่นเองเรียกว่ามีการลืมตัว คิดว่าระบบเศรษฐกิจอยู่ในขาขึ้น ไม่คิดว่ามันจะลง ทำให้ไม่ได้เตรียมตัว และเตรียมความพร้อมรับมือเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงหลังปี 1990 หรือที่โอบาม่า กล่าวไว้ตอนรับตำแหน่งว่า ."อะไรที่ทำเกินไปก็ไม่ดี" ควรหยุดยั้งตามจังหวะที่เหมาะสม
เขาอยากให้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดของญี่ปุ่น เพื่อที่จะได้ไม่เดินตามรอยดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามข้อดีอื่นๆ ของบริษัทญี่ปุ่นยังมีอีกหลายเรื่องด้วยกัน อย่างเช่น
- ระบบหนังสือเวียน (การตัดสินใจ)
มีการทำระบบข้อตกลงหรือรับทราบจากระดับล่างขึ้นบน ซึ่งเป็นวีธีรวบรวมความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก แล้วเจาะประเด็นอย่างละเอียดหาเหตุและผลร่วม ส่งผลให้มีโอกาสเกิดความผิดพลาดใหญ่ๆ น้อยลง แต่ก็ต้องเสียเวลาในการหาข้อตกลงด้วย หรือเมื่อรับความเห็นจำนวนมากแล้ว อาจจะเกิดความกังวลจนทำให้แผนดั้งเดิมบิดเบือนไป
- ค่านิยมในการทำงาน
เมื่อระบบการจ้างงานตลอดชีพถูกปิดลง บริษัทได้นำแนวความคิดที่ว่า พื้นฐานของการเติบโตอย่างต่อเนื่องคือ "คนที่มีความสามารถ" แรงขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันของบริษัทคือ"กำลังของคนที่มีความสามารถ" ซึ่งการนำการประเมินผลตามความสามารถมาใช้นั้นได้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอย่างใหญ่หลวง ขณะนี้บริษัทต่างๆ กำลังพยายามแก้ไขใหม่อยู่
- ทำไมคนญี่ปุ่นถูกมองว่าบ้างาน
แต่เดิมประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการทำงาน อดทนมุ่งมั่น และคนญี่ปุ่นเองก็มีความต้องการสร้างสิ่งที่ดีกว่า มาตรฐานสูงกว่า และยังมีฝีมือ อีกทั้งยังมีความสุขในการทำด้วยตนเองเพื่อให้งานเกิดผล อย่างไรก็ตามปัจจุบัน โครงสร้างได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การบอกว่ารักในบริษัทนั้นพูดยากขึ้น หลายบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยการดำเนินวัฒนธรรมบริษัท
- ความปลอดภัยมาก่อน
แม้ว่าการทำกิจกรรม Kaizen จะล้มเหลวลงแล้วแต่หลายบริษัทก็ยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยอยู่ อย่างในปัจจุบัน เครื่องมือหรือเครื่องจักรต่างๆ เมื่อปิดเครื่องหรือเปลี่ยนเป็นระบบแมนวลแล้ว ฝาครอบจะยังไม่สามารถเปิดได้จนกว่า ระบบหรืออุปกรณ์ต่างๆ จะหยุดนิ่งแล้ว จึงเปิดได้ ด้วยที่ว่า มือของคน ด้วยเวลา 1 วินาทีสามารถยื่นออกไปได้ประมาณ 3 เมตร
ก่อนจบผู้บรรยายยังได้ให้ข้อคิดไว้ว่า "งานที่ดีคือ สิ่งที่ดี ทั้งสำหรับตนเอง ลูกค้า และบริษัท"

1 comment:

Anonymous said...

ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ